การประเมินราคาพื้นฐานหุ้นด้วยวิธี DDM,P/E และ P/BV
กล่าวนำ
มีเนื้อเพลงที่เป็นวลีเด็ดที่ผมยังจำได้ตอนเป็นเด็ก จนถึง ปัจจุบันนี้
“คนจนเล่นหวย คนรวยๆเขาไปเล่นหุ้น” ทำไมคนรวยถึงไปเล่นหุ้น?ทำไมไม่เอาเงินไปซื้อหวยหรือฝากธนาคารกินดอกเบี้ย
มาถึงบางอ้อก็ตอนที่ ได้มาศึกษารายละเอียดต่างๆนี่เอง
ทำไมต้องลงทุนในหุ้น
ลงทุนในหุ้น(Equity)จะได้ผลตอบแทนสูงที่สุดในการลงทุนระยะยาวเทียบ10ปี
(Eguity 12%,Bond 10%,Cash 7%,Gold 3%)
วิธีการลงทุนในตลาดหุ้น
นักลงทุนแบ่งเป็น 2ปะเภท นักลงทุน(VI) กับ นักเกร็งกำไร(MI)
นักเกร็งกำไร(MI ; Momentum Investor) จะให้มูลค่าหุ้นตามราคาตลาด
คือ แพงก็ซื้อถ้าคิดว่าหุ้นตัวนั้นจะขึ้น เก่งในเรื่องการ stop loss กล้าที่จะ Cut
lossทันที
เมื่อหุ้นไม่เป็นไปตามที่แนวโน้มที่คิด และ let profit run ปล่อยให้หุ้นขึ้นไปพอถึงจุด
Stop Gain ก็ขาย
นักลงทุน(VI ; Value Investor) จะตัดสินราคาตลาดด้วยการพิจารณามูลค่าของหุ้น
1.เลือกหุ้นดี คุณสมบัติของหุ้นดี บริษัทเติบโตสม่ำเสมอ
มีอำนาจต่อรองกับลูกค้าสูง ฐานะทางการเงินแข็งแกร่ง ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์
เป็นผู้นำในธุรกิจนั้นๆ เป็นต้น
2.ซื้อหุ้นถูก ซื้อหุ้นตอนตอนมูลค่าหุ้นถูก
3.ถือหุ้นยาว
ข้อ3.เป็นสิ่งที่ยากที่สุดประวัติศาสตร์ของตลาดหุ้นต้องถือยาวถึง 25ปี ถึงจะมีกำไรแบบไม่มีขาดทุน
กำไรต่ำสุดอยู่ที่1.6% สูงสุด สูงสุด 25% เฉลี่ย 13%
4.กระจายความเสี่ยง เลือกหุ้นดี ซื้อหุ้นตอนมูลค่าหุ้นถูกเป็นการลดความเสี่ยง
ถือหุ้นยาวก็เป็นการลดความเสี่ยงอีกอย่างนึง
แต่ที่จะแนะนำในตอนนี้คือ ซื้อหุ้นถูก
โดยการประเมินมูลค่าพื้นฐานของหุ้น ก่อนอื่นต้องรู้ว่ามูลค่าแท้จริง(Intrinsic
Value)มีแนวคิดที่มายังไง มูลค่าแท้จริง เกิดจากผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในอนาคต ต้องคุ้มกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
ซึ่งจะต้องมากกว่าผลตอบแทนที่ได้รับอยู่แล้ว ซึ่งมีตรรกะที่น่าเชื่อถือได้ คือเอาผลงานในอดีตเพื่อมาประเมินผลงานในอนาคตนั่นเอง
การประเมินมูลค่าพื้นฐานของหุ้นด้วยวิธี DDM(Dividend Discount
Model)
P = มูลค่าที่แท้จริงของหุ้นในปัจจุบัน
t
= ปีที่ลงทุน
D = เงินปันผลในปีที่ 1,2,3....t
k = ผลตอบแทนที่ต้องการ
(จากความเสี่ยง High risk High Return นะ)
โดยผมจะเลือกใช้ แค่สองสมมุติฐาน ซึ่งเหมาะกับตัวผมเอง เพราะผมไม่ใช่นักวิเคาะห์(คาดเดาอนาคตไม่ได้อ่ะ)
สมมุติฐานที่1 เงินปันผลได้รับคงที่ทุกงวด (Zero Growth Model)
สมมุติฐานที่2 เงินปันผลมีอัตราการเพิ่มคงที่ทุกงวด (Constant Growth Model)
D0 = เงินปันผลปีล่าสุด
g = อัตราการเติบโตของเงินปันผล
(growth)
Beta ;
ค่าที่ควรรู้อีกค่าหนึ่งคือ ค่า beta ค่าความเสี่ยงของหุ้นตัวนั้นๆ
หาได้จากการนำอัตราผลตอบแทนของหุ้นตัวนั้นมา plot graphกับอัตราผลตอบแทนของตลาดหลักทรัพย์
ทำประมาณ3ปี แล้วลาก trend Line ค่า Slope ของ trend
Line คือ Beta ถ้ามีค่ามากกว่า 1หมายถึงมีความเสี่ยงมากกว่าตลาดหุ้น
มีค่าน้อยกว่า1 มีความเสี่ยงน้อยกว่าตลาดหุ้น
k = ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับในการลงทุน
ผลตอบแทนขั้นต่ำในการลงทุน
คิดจาก
Rf (Risk free
rate)ผลตอบแทนที่ปราศจากความเสี่ยง
พันธบัตรรัฐบาล 10 ปี ประมาณ 3.5%
Rm (Return on
Market) ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับจากตลาดหุ้นเฉลี่ย
40ปี ประมาณ 12%
g = อัตราการเติบโตของเงินปันผล
สินทรัพย์(10) = หนี้สิน(8)
+ส่วนผู้ถือหุ้น(2)
g = กำไรสุทธิ/ส่วนผู้ถือหุ้น
หรือก็คือ ROE(Return on Equity) ลบด้วยจ่ายปันผล(payout)ที่ออกไปแล้ว
จะได้สูตรความสัมพันธ์ของP/E และ P/BV ออกมา คือ
ตัวอย่างการหาราคาพื้นฐานหุ้น ด้วยวิธี DDM,P/E และ P/BV
ซึ่ง ค่าต่างๆเราก็สามารถหาได้ จาก website ทางการลงทุน
เช่น www.set.ot.th. , www.siamchart.com
แต่ผมใช้ตอนนี้เป็น
File Excel ของ บลจ.กสิกรไทย ครับ มีครบทุกค่าไม่ต้องไปหาที่ใหนอีก พร้อมบางตัวเขาคิดใว้ให้แล้วด้วย สูตรที่บางช่องไม่ตรงก็แก้นิดหน่อย ของฟรีก็ต้องมีข้อเสียบ้าง สามารถดาวน์โหลดได้จาก www.kasikornsecurities.com
สุดท้ายอยากบอกว่าการลงทุนมีความเสี่ยง ควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อนการลงทุน มีสติ อย่าลงทุนด้วยอารมณ์และความรู้สึก ต้องมีความชอบในธุรกิจนั้นๆจริงๆ เพราะการลงทุนเหมือนคุณเป็นเจ้าของธุรกิจนั้นๆแล้ว คุณจะมีความสุขในการลงทุน ขอให้โชคดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น