กล่าวนำ
Unit Rate หรือ ต้นทุนต่อหน่วย ได้มาจาก ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่จ่ายออกไปหารด้วยปริมาณงานที่ผลิตได้ ยกตัวอย่างเราเช่า Backhoe มาชั่วโมงละ 1000 รวมน้ำมัน เราสามารถทำการขุดดินใน 1 ชั่วโมงได้ 60 คิว ก็เอา 1000/60 จะได้ ค่างานขุดดินเท่ากับ 16.67 บาท/คิว ซึ่งราคาค่าเช่า ชั่วโมงละ 1000 จะรู้ได้งัยว่าถูกหรือแพง ถ้าเราเป็นผุ้ประกอบการ ซื้อรถ หรือเครื่องจักรมาเพื่อให้คนเช่า เช่าเครื่องจักรไปทำงานหนึ่งๆ จะรู้ได้งัยว่าจะต้องตั้งราคาค่าเช่าเท่าไหร่ ซึ่งการหา Owning & Operating cost ของเครื่องจักรจะสามารถตอบคุณได้
Owning & Operating cost
Owning & Operating cost คือ ต้นทุนจากการเป็นเจ้าของและการใช้งานของเครื่องจักรนั้น ก่อนอื่นควรรู้จักต้นทุน(Cost) ในส่วนของเครื่องจักรก่อน
Equipment Cost หรือต้นทุนของเครื่องจักร สามารถแบ่งต้นทุน (Cost)ออกเป็น 3 ประเภท
Fix Costs คือ ค่าใช้จ่ายคงที่ หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่แม้จะไม่ได้ทำงานก็ยังคงต้องจ่ายเหมือนเดิม เช่น ค่าเสื่อมราคา(Depreciation), ภาษี(Taxes), ประกันภัย(Insurance),ดอกเบี้ย(Interest on Investment) เป็นต้น
Operating Costs คือ ค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานนั้นๆ โดยตรงในส่วนของเครื่องจักร เช่น ค่าน้ำมัน(Fuel), ค่าน้ำมันหล่อลื่น(Lubricants), ค่ายาง(Tires), ค่าซ่อมเครื่องจักร(Repair), ค่าบำรุงรักษา(Maintenance) เป็นต้น
Labor Costs คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนของพนักงานเช่น ค่าแรง(Wages), ประกันสังคม(Social), ค่าอาหาร (Foods), ค่าที่พัก(Camp) เป็นต้น
Owning Cost ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ หรือครอบครองเครื่องจักร ซึ่งเจ้าของหรือผู้ประกอบการจะต้องรับผิดชอบเมื่อซื้อเครื่องจักร คือ
1.ค่าเสื่อมราคา(Depreciation) สมารถคิดได้หลายวิธี เช่น วิธีเส้นตรง (straight line method), วิธีคิดจากชั่วโมงการทำงาน(Working-Hours Method),วิธีคิดตามผลการผลิต(Productive-output Method), วิธีคิดแบบลดลงทุกปี(Reducing-Charge Method) ซึ่งแต่ละวิธีก็เหมาะสมกับงานและเครื่องจักรต่างกันไป แต่ วิธีเส้นตรง(straight line method) เป็นที่นิยม
D = ( P - S )
N
D คือ ค่าเสื่อมราคา(Depreciation)
P คือ ราคาซื้อเครื่องจักร(Purchase Price)
S คือ มูลค่าซากครื่องจักร(Salvage Value)
N คือ อายุการใช้งานเครื่องจักร(Economic Life)
ซึ่งอายุการทำงานของเครื่องจักร ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย สภาพหน้างาน เช่น backhoe ถ้าใช้ขุดดินที่ไม่แข็งมาก หรือทำงานมีเวลาพักเครื่องจักรบ้าง อายุการใช้งานของเครื่องจักรจะประมาณ 12,000 ชั่วโมง แต่ ถ้านำไปขุดหิน หรือ ดินที่แข็งมากๆ อายุการใช้งานของเครื่องจักรอาจได้แค่ 8,000 ชั่วโมงเป็นต้น ซึ่งสามารถดูได้ใน คู่มือปฎิบัติงานของเครื่องจักรยี่ห้อนั้นๆ, การดูแลรักษาเครื่องจักร(Maintenance) ซึ่งการดูแลเครื่องจักรที่ดีจะสามารถยืดอายุการทำงานของเครื่องจักรได้มาก เป็นต้น
2.ดอกเบี้ยจากการลงทุน (Interest on Investment) ดอกเบี้ยสามารถคิดได้ 2 แบบ
1.คิดโดยใช้ค่าที่แท้จริงของมูลค่าที่เหลือของเครื่องจักร
2.คิดจากอัตราดอกเบี้ยในการลงทุนเฉลี่ยต่อปี
แต่สำหรับวิธีที่คิดค่าเสื่อมแบบเส้นตรงควรคิดดอกเบี้ยแบบเฉลี่ยต่อปี(average annual investment)
AAI = P(N+1)+S(N-1)
2N
3.ภาษี(Taxes) ผู้ซื้อเครื่องจักรต้องจ่ายค่าภาษีให้รัฐ จากการเป็นเจ้าของปกติจะอยู่ประมาณ 1-5% โดยการคิดดอกเบี้ยแบบเฉลี่ยต่อปี(average annual investment)
4.การประกันภัย(Insurance) ผู้ประกอบการณ์ส่วนใหญ่จะทำประกันภัยให้เครื่องจักรตั้งแต่ซื้อ เพื่อประกันความเสียหายต่างๆเช่นไฟไหม้ สูญหาย เป็นต้น บางบริษัทที่มีขนาดใหญ่มีเครื่องจักรมากๆถึงกับจัดตั้งบริษัทประกันภัยเพื่อมารับผิดชอบในส่วนนี้เลยก็มี
5.สถานที่เก็บเครื่องจักร(Storage) สถานที่เก็บเพื่อให้เครื่องจักรปลอดภัย เมื่อเครื่องจักรไม่ได้ทำงานรวมถึง ค่าเช่าพื้นที่เพื่อจอดเครื่องจักร เมื่อสถานที่ทำงานไม่มีที่จอด(ในประเทศไทยบริษัทส่วนใหญ่จะไม่คิดค่าใช้จ่ายส่วนนี้) ปกติจะอยู่ประมาณ 1%โดยการคิดดอกเบี้ยแบบเฉลี่ยต่อปี(average annual investment)
Operating Cost คือ ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการดำเนินการงานนั้นๆ โดยใช้เครื่องจักรที่ลงทุนซื้อมา ซึ่งเจ้าของหรือผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบในการผลิตหรือดำเนินการให้แล้วเสร็จ คือ
1.Maintenance and Repair ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและการซ่อมแซมเครื่องจักร จะรวมทุอย่างตั้งแต่ ค่ายกเครื่องใหม่ตามระยะเวลาของเครื่องจักร, ค่าซ่อมคลัช, ซ่อมเกียร์ และส่วนอื่นๆที่เป็นชิ้นส่วน สำคัญๆ และการบำรุงรักษาตามระยะเวลาการใช้งานของชิ้นส่วน หรือรอบของเครื่องจักรนั้นๆ ซึ่งจะคิดเป็นจาก ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร เช่น รถแทรกเตอร์(Crawler tractor) มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา ร้อยละ100ของค่าเสื่อมราคา(เท่ากับค่าเสื่อมราคานั่นเอง) หรือ รถตักดิน(Hydraulic Loader) มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและบำรุงรักษา ร้อยละ50ของค่าเสื่อมราคา(ครึ่งนึงของค่าเสื่อมราคานั่นเอง) หรือบางตำราคิดค่าซ่อมแซมและบำรุงรักษาจากราคาซื้อ ตามเครื่องจักร ลักษณะสภาพงาน เช่น Backhoe ทำงานหนัก ค่าซ่อมแซม 8 %ของราคาซื้อ ทำงานปานกลาง 6% และทำงานเบา 3 % ของราคาซื้อ เป็นต้น
2. Fuel ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราการสิ้นเปลืองของนำ้มันเชื้อเพลิงขึ้นอยู่หลายปัจจัย เช่น ขนาดเครื่องยนต์, ขนาดน้ำหนัก, สภาพหน้างาน, และความชำนาญของคนขับ เป็นต้น สามารถคิดอัตราสิ้นเปลืองจากสูตรนี้ได้
MPH = K x GHP x LF
KPL
เมื่อ MPH = ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ลิตร/ชั่วโมง
K = ค่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงกิโลกรัมต่อแรงม้าต่อชั่วโมง (Gasoline = 0.21, Diesel = 0.17)
GHP = แรงม้าของรอบเครื่องยนต์ทั้งหมดที่ควบคุมความเร็วรอบ รอบต่อนาที
LF = แฟคเตอร์ของโหลดจะอยู่ที่การใช้งานเครื่องจักรค่าจะอยู่ที่ 0.4-0.7
KPL = น้ำหนักของน้ำมันเชื้อเพลิง กิโลกรัมต่อลิตร (Gasoline = 0.72, Diesel = 0.84)
3.Lubricants น้ำมันหล่อลื่นซึ่งในที่นี้จะรวมทั้งหมด ตั้งแต่น้ำมันเครื่อง,น้ำมันเกียร์, เบรก จาระบี โดยจะคิดอิงจากราคาค่าเชื้อเพลิง คือประมาณ 4-10%ของน้ำมันเชื้อเพลิง
4.Tire ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในยาง มาจากหลายๆปัจจัย เช่น สภาพพื้นที่ทำงานพื้นผิวถนน ความลาดชัน ความคดเคี้ยว คนขับรถ ความเร็วในการขับรถ น้ำหนักในการบรรทุก เช่น Highway equipment Guidelines ใ้ห้ อายุการทำงานของรถบรรทุกตามสภาพถนน พื้นผิวถนนราบเรียบไม่ชำรุดเสียหาย อายุของยาง 5,000 ชั่วโมง, ถ้าขรุขระบางมีหินโผล่บางจุดแต่ไม่มาก อายุของยางจะได้แค่ 3,000 ชั่วโมง ถ้าพื้นที่ขรุขระมาก อายุของยางจะเหลือแค่ 1,500 ชั่วโมง เป็นต้น การหาราคายาง ก็นำราคาที่ซื้อหารด้วยอายุการใช้งาน
Labor Cost ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากค่าแรงงาน คนขับและผู้ช่วย ในงานนั้นๆ รวมประกันสังคม รวมเงินทุกอย่างใน 1ปี รวมเงินเดือนที่จะขึ้นให้พนักงานในปีนั้นๆ แล้วเฉลี่ยมาเป็นเดือน เป็นวัน เป็นชั่วโมง ตามลำดับ
ตัวอย่างการคำนวณ O&O Cost ไม่รวม Labor Cost (เอา Labor Cost ไปคิดในงานในส่วน Production) ผมได้แนบ Link ที่ใช้ในการ คิด O&O Cost เป็น Excell ไว้ด้านล่างครับ ค่าทุกค่า ราคาทุกราคา ผมใช้ในการหา Unit Rate จริง
http://www.mediafire.com/download/cgzu0d892zq2c64/Basic+Calculation+O%26O+Cost.xls
ซึ่งต้นทุนที่ได้นี้ จะเป็นต้นทุนของเครื่องจักร ไม่รวมค่าแรงในการทำงาน ค่าขนส่ง ค่าผ่านด่านศุลกากร (กรณีทำงานต่างประเทศ) ส่วนสภาพหน้างานขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ประกอบการณ์ งานหนัก งานปานกลาง หรืองานเบา ซึ่งจะมี Factor สำหรับคน และเครื่องจักร ในขั้นตอน การคิด Production เพื่อหา Unit Rate เพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งจะแนะนำในบทความต่อไป
หวังว่า จะเป็นประโยชน์ ในการแบ่งปันความรู้ แชร์ประสบการณ์ที่เคยผ่านมา
จากใจ "คนเล่าฝัน"